ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ศาสตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) พระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิตสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

พระองค์ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ปัจจุบันทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ทรงได้รับรางวัลเรียนดีตลอดระยะเวลา 4 ปีการศึกษา และทรงได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์สาขาอินทรีย์เคมีด้วย

เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยคะแนนยอดเยี่ยม เมื่อมีพระดำริถึงการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลจึงอนุมัติให้ทรงเข้าศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตได้โดยไม่ต้องผ่านมหาบัณฑิตก่อนทรงศึกษาด้วยพระวิริยะอุตสาหะใฝ่พระทัยในการศึกษาเล่าเรียนเป็นที่ยิ่งทั้งที่มีพระราชกิจในฐานะสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็ยังเสด็จพระดำเนินไปทรงพระอักษรร่วมกับพระสหายในชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอตลอดจนทรงงานในห้องแล็บด้วยพระองค์เองอย่างไม่ทรงท้อถอยแม้จะทรงแพ้สารเคมีก็ตามโดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds" และได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเคมีอินทรีย์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2528

ปัจจุบัน ทรงศึกษาในระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2560

ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข และความเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์ เรื่องการ ขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขโดยเฉพาะ ความต้องการการสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิชาการวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

ต่อมาทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนาบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์ การแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งระดมสติปัญญาของนักวิชาการที่มีศักยภาพและวิทยาการที่ก้าวหน้า เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง และให้การศึกษาและฝึกอบรมอย่างครบวงจร ประกอบกับแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ขยายภารกิจด้านการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสาขาที่มีความต้องการสูงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้มีการเสนอโครงการจัดตั้งสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2548

และจากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง ประกอบกับทรงพบว่าประชาชนชาวไทยเป็นโรคมะเร็งเพิ่มในอัตราที่สูงมากขึ้น จึงทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็งขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค โดยมีงานวิจัยที่ได้มาตรฐานสากลรองรับ

นอกจากนี้ ยังทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่สามารถติดตาม ตรวจวัด ประเมิน และวิเคราะห์ การทำหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ ในระดับเซลล์เมตาบอลิสม์ ที่สามารถให้รายละเอียดการวินิจฉัยโรคและระยะของโรคได้ดีกว่าการตรวจอย่างอื่น ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและมีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือ ฝึกอบรมแก่ประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ

นอกจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทรงได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติในพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว พระองค์ยังทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาประเทศได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นกิจการด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย งานเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร การจัดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม การเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลรวมไปถึงงานส่งเสริมสถานภาพทางสังคมของสตรีไทยอีกด้วย

งานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย โดยเน้นไปที่ปลาสวยงามเป็นหลัก

งานประมงน้อมเกล้าฯ จัดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงให้กรมประมง ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ณ บริเวณสวนอัมพร เพื่อน้อมระลลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อวงการแพทย์ และการประมง และเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้าง ตึกสยามมินทร์ เนื่องในโอกาสที่โรงพยาบาลศิริราชสถาปนาครบรอบ 100 ปี

ต่อจากนั้นทรงมีรับสั่งให้จัดงาน "วันประมงน้อมเกล้าฯ" ขึ้นทุกปี และคณะกรรมการจัดงานมีความเห็นพ้องว่าให้นำเงินรายได้จากการจัดงานทุกปี ขึ้นทูลเกล้าฯ สมทบทุนมูลนิธิจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงตั้งขึ้นเพื่อศึกษางานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในการนี้ คณะกรรมการจัดงานได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จมาทรงเป็นประธานเปิดงานและจัดตู้ปลาสวยงาม เพื่อพระราชทานแก่ผู้มีจิตศรัทธาถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย และพระราชทานถ้วยรางวัลให้แก่ผู้ชนะการประกวดในกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย

เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ ทรงเผยประชวรด้วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง พร้อมทั้งรับสั่งจะทรงทำงานเพื่อประชาชนต่อไป ตามเจตนารมณ์ของในหลวง-พระราชินี และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 มีประกาศสำนักพระราชวังว่าทรงรับการผ่าตัดติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 มีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะเสด็จไปประทับ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ฉบับที่ 1 เปิดเผยว่าทรงเป็นตับอ่อนอักเสบ และพบก้อนเนื้องอก ที่พระศอ และจะรับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่พระศอในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชนชาวไทยให้ดีขึ้น ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และทรงเป็นผู้ที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างดียิ่ง

โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเพื่อเชิดชูเกียรตินักวิทยาศาสตร์ที่เป็นบุคคลตัวอย่างทางวิชาการ และการส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์ ทรงเป็นบุคคลที่ 3 ในโลกและเป็นนักวิทยาศาสตร์สตรีพระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้

โดย The World Conservation Union ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นการยกย่องที่ทางทำคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดยพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและสิ่งแวดล้อม ให้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาแบบยั่งยืน

จากผลของการทรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในแวดวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ คณะกรรมการรางวัลฮอลแลนเดอร์ จึงมีมติเอกฉันท์ให้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็งและพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับประจำ ปี ค.ศ. 2002

โดย Intergovernmental Forum on Chemical Safety (IFCS) เป็นรางวัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยของสารเคมีแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในภูมิภาค

เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลด้านวิทยาศาสตร์ผู้มีบทบาทสำคัญและทำคุณประโยชน์อย่างสูงแก่วงการอินทรีย์เคมี ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจากมหาวิทยาลัยนาโกยา เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น

โดย Georg-August-Universit?t G?ttingen และสมาคมเคมีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในโอกาสการจัดสัมมนา "Adolf-Windaus-Genachtnis-Lecture" ประจำปี 2009 ในฐานที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นอกจากมีผลงานวิจัยและงานวิชาการในด้านอินทรีย์เคมี แล้วยังทรงพัฒนาและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าของสาขาวิชานี้อย่างมาก

โดย Collegium Ramazzini สาธารณรัฐอิตาลี โดยมอบให้แก่นักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติที่มีผลงานโดดเด่นทั้งด้านงานวิจัย วิชาการด้านเวชศาสตร์อาชีวะ และสิ่งแวดล้อม ที่มีผ่านมีผู้ได้รับรางวัลแล้ว 32 คน ซึ่งในโอกาสนี้ทรงปาฐกถาให้หัวข้อ "Cancer Risk from Exposure to Air Pollution"

กล้วยไม้ผสมตระกูล Phalaenopsis ซึ่งรัฐบาลศรีลังกาได้น้อมเกล้าฯ ในเดือนสิงหาคม 2542 โดยเป็นผลงานการผสมพันธุ์ของสวนพฤกษศาสตร์เปราเดนนิยา (Royal Botanical Garden Peradeniya) ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสมของ Phalaenopsis 'Rose Miva' กับ Phalaenopsis 'Kandy Queen' และได้ขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนามเป็นชื่อของกล้วยไม้พันธุ์ใหม่นี้ ลักษณะดอกเป็นสีขาวโดยมีปลายดอกเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180